Oriental Princess

0
Oriental Princess

กระแสความนิยมผลิตภัณฑ์สมุนไพรเริ่มมาแรง ส่งผลให้มีผู้ประกอบการที่สนใจทำธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงประมาณ 5 ปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ดี ในช่วงก่อนที่จะเกิดกระแสความนิยมสมุนไพรขึ้นมานั้น มีบริษัทอยู่เพียงไม่กี่รายที่เริ่มต้นดำเนินธุรกิจทางด้านนี้ จนกระทั่งเป็นผู้นำทางด้านผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ และสามารถสร้างตราสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคได้

บริษัท โอ.พี. เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด ได้ดำเนินกิจการในการผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ประเภทเสริมความงาม มาตั้งแต่ปี 2533 ภายใต้ชื่อสินค้า "โอเรียนทอล พริ้นเซส (ORIENTAL PRINCESS)" มี ทุนจดทะเบียน 78 ล้านบาท โดยมีคุณศรีพันธ์ กุณะมาดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการของบริษัทในปัจจุบัน

สำหรับจุดเริ่มต้นของบริษัท เริ่มจากการที่ผู้บริ

หารมองเห็นความสำคัญ และแนวโน้มการเติบโตของผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากธรรมชาติ จึงทำให้สินค้าโอเรียนทอล พริ้นเซสเข้าสู่ตลาดในฐานะผู้ริเริ่มผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่ผสมสารที่สกัดได้จากธรรมชาติเป็นรายแรกๆ ของเมืองไทย และจากการออกแบบสินค้าที่เน้นความมีเอกลักษณ์ ความหรูหรา และมีสไตล์ของบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่ต้น ทำให้สินค้านี้ประสบความสำเร็จ และมีแนวโน้มยอดขายเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

บริษัทฯ ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำในผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ ก็เนื่องจากความสามารถในการเล็งเห็นถึงความต้องการในอนาคตของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากส่วนผสมของธรรมชาตินั้น นับเป็นก้าวย่างสำคัญที่ช่วยให้บริษัทฯล้ำหน้าผู้ผลิตรายอื่นๆ ไปหลายช่วงตัว แต่การจะรักษาก้าวย่างให้อยู่นำหน้าผู้อื่นไปโดยตลอดนั้น เป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่า ฉะนั้น ธุรกิจที่ต้องการคงความเป็นผู้นำต่อไป จึงไม่อาจนิ่งเฉยได้ ทุกรายละเอียดต้องพัฒนาไม่หยุดยั้ง เฉกเช่นการเอาใจใส่และการให้ความสำคัญต่อบรรจุภัณฑ์ โดยในเบื้องต้น ผลิตภัณฑ์เน้นที่ความเป็นผู้หญิงด้วยดีไซน์แบบอังกฤษโบราณเป็นลักษณะรูปกลมมน ชื่อตราสินค้าเป็นภาษาอังกฤษโบราณ แต่มีระดับ หรูหรา และสะดุดตา ซึ่งต่อมาลักษณะขวดบรรจุภัณฑ์ ได้มีการพัฒนาให้มีริ้วรอยที่ขวด และเป็นทรงอ้วนๆ ป้อมๆ หรือที่เรียกกันติดปากว่า ขวดทรงฟักทอง ทำให้ผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อ โอเรียนทอล พริ้นเซส มีลักษณะเฉพาะตัว และเป็นเอกลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเข้ามาของสินค้ายี่ห้อใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตได้ภายในประเทศ หรือสินค้าที่นำเข้ามาจำหน่ายจากต่างประเทศ ทำให้บริษัทมีความจำเป็นจะต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่ตลอดเวลา รวมถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ ที่คำนึงถึงประโยชน์ ความสะดวก และความปลอดภัยจากการใช้สอยตามสถานที่ต่างๆ ของลูกค้า เช่น การหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ทำจากแก้วสำหรับสินค้าที่จะต้องนำไปใช้ในห้องน้ำ ทั้งนี้เพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัย การนำเอาพลาสติกมาใช้สำหรับสินค้าที่ต้องการพกพา หรือนำไปใช้ในที่ต่างๆ ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์มีน้ำหนักเบาและสะดวกมากยิ่งขึ้น การเลือกใช้วัตถุดิบในการทำสติ๊กเกอร์ เพื่อป้องกันการลอกจากการโดนความชื้น และการไหลเยิ้มของตัวกาว เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีกลยุทธ์ทางด้านการกระจายสินค้า ที่บริษัทได้สร้างช่องทางการจำหน่ายสินค้าเอาไว้ อย่างมั่นคง กล่าวคือ ในปี 2545 บริษัทได้สร้างช่องทางจำหน่ายที่เป็นค้าปลีก (Retail) ในรูปแบบของ ร้านแสดงสินค้า และมุมแสดงสินค้าตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั้งสิ้น 148 แห่ง โดยมีแผนที่จะเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 20 แห่ง ในอนาคต

การจำหน่ายสินค้า ยังดำเนินการผ่านการส่งเสริมการขายแบบสมาชิก ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณหนึ่งแสนสามหมื่นคนทั่วประเทศ อีกทั้งยังมีการทำโปรแกรมส่งเสริมการขาย ณ จุดขาย ซึ่งทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (ยอดขายของบริษัทฯปี 2543 เท่ากับ 311.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 348.4 ล้านบาทในปี 2544) นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนในการขยายกลุ่มเป้าหมายจากกลุ่มลูกค้าเดิมที่เน้นเฉพาะผู้หญิง ก็จะมีการทำตลาดสำหรับกลุ่มลูกค้าผู้ชายเพิ่มเติม

การสร้างตราสินค้า และภาพลักษณ์ของสินค้านั้น มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เน้นความมีเอกลักษณ์ ความหรูหรา และมีสไตล์ การวางขายสินค้าเฉพาะในสถานที่ลูกค้าเป็นผู้มีกำลังซื้อในระดับหนึ่ง การมีพนักงานขายที่มีความชำนาญและหน้าตาดีในการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นการสร้างภาพลักษณ์ และความน่าเชื่อให้กับผลิตภัณฑ์โดยตรง

นอกจากนี้ บริษัทยังแบ่งกลุ่มลูกค้าทางการตลาดที่ชัดเจน โดยการแบ่งกลุ่มเป้าหมาย การจำหน่ายสินค้าออกเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะมีชุดผลิตภัณฑ์ ที่ทำการตลาดไม่เหมือนกัน กล่าวคือ กลุ่มลูกค้าที่เป็นกลุ่มวัยรุ่น อายุประมาณ 18-25 ปี คือ นักศึกษาจนถึงวัยทำงานช่วงต้น ในกลุ่มนี้บริษัทจะเลือกผลิตภัณฑ์ในชุด Ideal ในการทำตลาด และสำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เป็นกลุ่มคนทำงาน บริษัทจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในชุด Beneficial ที่เน้นความหรูหราและมีระดับมากกว่า เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะและพฤติกรรมของลูกค้าในแต่ละกลุ่ม

Oriental Princess
0
Oriental Princess

กระแสความนิยมผลิตภัณฑ์สมุนไพรเริ่มมาแรง ส่งผลให้มีผู้ประกอบการที่สนใจทำธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงประมาณ 5 ปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ดี ในช่วงก่อนที่จะเกิดกระแสความนิยมสมุนไพรขึ้นมานั้น มีบริษัทอยู่เพียงไม่กี่รายที่เริ่มต้นดำเนินธุรกิจทางด้านนี้ จนกระทั่งเป็นผู้นำทางด้านผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ และสามารถสร้างตราสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคได้

บริษัท โอ.พี. เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด ได้ดำเนินกิจการในการผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ประเภทเสริมความงาม มาตั้งแต่ปี 2533 ภายใต้ชื่อสินค้า "โอเรียนทอล พริ้นเซส (ORIENTAL PRINCESS)" มี ทุนจดทะเบียน 78 ล้านบาท โดยมีคุณศรีพันธ์ กุณะมาดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการของบริษัทในปัจจุบัน

สำหรับจุดเริ่มต้นของบริษัท เริ่มจากการที่ผู้บริ

หารมองเห็นความสำคัญ และแนวโน้มการเติบโตของผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากธรรมชาติ จึงทำให้สินค้าโอเรียนทอล พริ้นเซสเข้าสู่ตลาดในฐานะผู้ริเริ่มผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่ผสมสารที่สกัดได้จากธรรมชาติเป็นรายแรกๆ ของเมืองไทย และจากการออกแบบสินค้าที่เน้นความมีเอกลักษณ์ ความหรูหรา และมีสไตล์ของบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่ต้น ทำให้สินค้านี้ประสบความสำเร็จ และมีแนวโน้มยอดขายเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

บริษัทฯ ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำในผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ ก็เนื่องจากความสามารถในการเล็งเห็นถึงความต้องการในอนาคตของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากส่วนผสมของธรรมชาตินั้น นับเป็นก้าวย่างสำคัญที่ช่วยให้บริษัทฯล้ำหน้าผู้ผลิตรายอื่นๆ ไปหลายช่วงตัว แต่การจะรักษาก้าวย่างให้อยู่นำหน้าผู้อื่นไปโดยตลอดนั้น เป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่า ฉะนั้น ธุรกิจที่ต้องการคงความเป็นผู้นำต่อไป จึงไม่อาจนิ่งเฉยได้ ทุกรายละเอียดต้องพัฒนาไม่หยุดยั้ง เฉกเช่นการเอาใจใส่และการให้ความสำคัญต่อบรรจุภัณฑ์ โดยในเบื้องต้น ผลิตภัณฑ์เน้นที่ความเป็นผู้หญิงด้วยดีไซน์แบบอังกฤษโบราณเป็นลักษณะรูปกลมมน ชื่อตราสินค้าเป็นภาษาอังกฤษโบราณ แต่มีระดับ หรูหรา และสะดุดตา ซึ่งต่อมาลักษณะขวดบรรจุภัณฑ์ ได้มีการพัฒนาให้มีริ้วรอยที่ขวด และเป็นทรงอ้วนๆ ป้อมๆ หรือที่เรียกกันติดปากว่า ขวดทรงฟักทอง ทำให้ผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อ โอเรียนทอล พริ้นเซส มีลักษณะเฉพาะตัว และเป็นเอกลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเข้ามาของสินค้ายี่ห้อใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตได้ภายในประเทศ หรือสินค้าที่นำเข้ามาจำหน่ายจากต่างประเทศ ทำให้บริษัทมีความจำเป็นจะต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่ตลอดเวลา รวมถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ ที่คำนึงถึงประโยชน์ ความสะดวก และความปลอดภัยจากการใช้สอยตามสถานที่ต่างๆ ของลูกค้า เช่น การหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ทำจากแก้วสำหรับสินค้าที่จะต้องนำไปใช้ในห้องน้ำ ทั้งนี้เพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัย การนำเอาพลาสติกมาใช้สำหรับสินค้าที่ต้องการพกพา หรือนำไปใช้ในที่ต่างๆ ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์มีน้ำหนักเบาและสะดวกมากยิ่งขึ้น การเลือกใช้วัตถุดิบในการทำสติ๊กเกอร์ เพื่อป้องกันการลอกจากการโดนความชื้น และการไหลเยิ้มของตัวกาว เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีกลยุทธ์ทางด้านการกระจายสินค้า ที่บริษัทได้สร้างช่องทางการจำหน่ายสินค้าเอาไว้ อย่างมั่นคง กล่าวคือ ในปี 2545 บริษัทได้สร้างช่องทางจำหน่ายที่เป็นค้าปลีก (Retail) ในรูปแบบของ ร้านแสดงสินค้า และมุมแสดงสินค้าตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั้งสิ้น 148 แห่ง โดยมีแผนที่จะเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 20 แห่ง ในอนาคต

การจำหน่ายสินค้า ยังดำเนินการผ่านการส่งเสริมการขายแบบสมาชิก ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณหนึ่งแสนสามหมื่นคนทั่วประเทศ อีกทั้งยังมีการทำโปรแกรมส่งเสริมการขาย ณ จุดขาย ซึ่งทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (ยอดขายของบริษัทฯปี 2543 เท่ากับ 311.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 348.4 ล้านบาทในปี 2544) นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนในการขยายกลุ่มเป้าหมายจากกลุ่มลูกค้าเดิมที่เน้นเฉพาะผู้หญิง ก็จะมีการทำตลาดสำหรับกลุ่มลูกค้าผู้ชายเพิ่มเติม

การสร้างตราสินค้า และภาพลักษณ์ของสินค้านั้น มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เน้นความมีเอกลักษณ์ ความหรูหรา และมีสไตล์ การวางขายสินค้าเฉพาะในสถานที่ลูกค้าเป็นผู้มีกำลังซื้อในระดับหนึ่ง การมีพนักงานขายที่มีความชำนาญและหน้าตาดีในการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นการสร้างภาพลักษณ์ และความน่าเชื่อให้กับผลิตภัณฑ์โดยตรง

นอกจากนี้ บริษัทยังแบ่งกลุ่มลูกค้าทางการตลาดที่ชัดเจน โดยการแบ่งกลุ่มเป้าหมาย การจำหน่ายสินค้าออกเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะมีชุดผลิตภัณฑ์ ที่ทำการตลาดไม่เหมือนกัน กล่าวคือ กลุ่มลูกค้าที่เป็นกลุ่มวัยรุ่น อายุประมาณ 18-25 ปี คือ นักศึกษาจนถึงวัยทำงานช่วงต้น ในกลุ่มนี้บริษัทจะเลือกผลิตภัณฑ์ในชุด Ideal ในการทำตลาด และสำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เป็นกลุ่มคนทำงาน บริษัทจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในชุด Beneficial ที่เน้นความหรูหราและมีระดับมากกว่า เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะและพฤติกรรมของลูกค้าในแต่ละกลุ่ม

Brand’s Products